ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ท่องเที่ยวเส้นทางสายมูอินฟินิตี้ จังหวัดราชบุรี ศรัทธานำทาง ไหว้พระสายอินฟินิตี้ รวยไม่รู้จบ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 8 แห่ง เสริมบารมีเป็นสิริมงคล

ท่องเที่ยวเส้นทางสายมูอินฟินิตี้ จังหวัดราชบุรี

ศรัทธานำทาง ไหว้พระสายอินฟินิตี้ รวยไม่รู้จบ

สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 8 แห่ง 

เสริมบารมีเป็นสิริมงคล 

เรื่อง/ภาพ...อนุรักษ์ มงคลชัยประทีป

สมาคมธุรกิจท่องเกี่ยวภายในประเทศ (สทน.) ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานราชบุรี (นครปฐม - ราชบุรี) นำโดยนางสาวปิยพัชร์ วงศ์โดยหวัง ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานราชบุรี จัดโครงการ "ศรัทธานำทาง ไหว้พระสายอินฟินิตี้รวยไม่รู้จบ เสริมบารมีให้สถิตอยู่กับตัวเอง เจริญก้าวหน้าตลอดไป" เส้นทางสายมูอินฟินิตี้ จังหวัดราชบุรี นำนักท่องเที่ยวเดินทางไหว้พระเส้นทางที่เดินย้อนไปมาเป็นเส้นเลข 8 ในจังหวัดราชบุรี โดยมีทัวร์คุณชาย นำโดยคุณลลิตา ขันแข็ง เป็นผู้ดำเนินการพาเที่ยว และมี อาจารย์กอล์ฟ เป็นมัคคุเทศก์กิตติมศักดิ์ ที่จะมาเล่าเรื่องราวประวัติของแต่ละวัดสอดแทรกตลอดการเดินทาง และนำกราบไหว้พระอย่างถูกวิธีและเหมาะสม เพื่อเสริมบารมี ความเป็นสิริมงคล เจริญก้าวหน้า ให้สถิตอยู่กับตัวเองและครอบครัวอย่างยั่งยืนตลอดไป



เมื่อถึงจังหวัดราชบุรี คณะเราก็เริ่มเดินทางไปกราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์กันเลย โดยเริ่มจากวัดพญาไม้ ต.โคกหม้อ ในเขตเทศบาลตำบลหลักเมือง เป็นวัดเก่าแก่เดิมชื่อว่า "วัดพระยาใหม่" ไม่มีหลักฐานการสร้างวัดที่แน่นอน มีเรื่องเล่ากันว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2423 มีชายหนุ่มคนหนึ่งได้ถวายตัวเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นถึงพระยา ด้วยกวามกตัญญูต่อถิ่นเกิดก็เลยสร้างวัดนี้ขึ้น แต่ไม่รู้ว่าพระยาท่านนี้ชื่ออะไร และไม่ได้ระบุชื่อวัดไว้ ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า "วัดพระยาใหม่" และด้วยเหตุที่บริเวณวัดมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหลากหลายพันธุ์ ทำให้ชาวบ้านเรียกชื่อวัดเพี้ยนมาเป็น "วัดพญาไม้" จนถึงทุกวันนี้ และในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นไปตามลำน้ำแม่กลอง ขณะผ่านหน้าวัดพญาไม้ได้รับสั่งให้เรือพระที่นั่งเข้าเทียบจอดที่ศาลาท่าน้ำหน้าวัด แล้วเสด็จประทับพักผ่อนตามพระราชอัธยาศัยบนศาลาวัด เมื่อชาวบ้านได้ทราบข่าวก็พากันมาเข้าเฝ้าเป็นจำนวนมาก ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จมาซ้อมรบใหญ่ที่จังหวัดราชบุรี คณะเรามาเมื่อเดินเข้าไปในวัดก็จะพบกับความเก่าแก่ของกำแพงแก้วและซุ้มประตูซึ่งตกแต่งด้วยเสาหัวเม็ดเป็นระยะๆ บริเวณมุมกำแพงมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองตั้งอยู่ทั้ง 4 ด้าน ซึ่งเป็นหลักฐานทางด้านโบราณคดีที่สำคัญ และเมื่อเดินเข้าไปในพระอุโบสถ ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐปูนหลังคาเครื่องไม้มุง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2497 เราจะพบพระพุทธชัยมงคล หรือหลวงพ่อตามใจ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ปูนปั้นปางสะดุ้งมาร ศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น สูง 2 เมคร หน้าตักกว้าง 1.70 เมตร มีพุทธลักษณะงคงาม โดยเฉพาะพระพักตร์ที่อิ่มเอิบ ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ เราก็กราบสักการะขอพรเพื่อให้ได้ตามที่สมปรารถนาปัจจุบันวัดพญาไม้จัดเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาที่ยังมีการใช้ประโยชน์ กรมศิลปากรยังไม่ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ



พระอธิการ อดุลย์ สุธมฺโม เจ้าอาวาสวัดพญาไม้ เล่าว่า สมัยที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสใหม่ๆ สภาพวัดทรุดโทรมมาก กุฏิ ศาลา เมรุ และเสนาสนะต่างๆ อยู่ในสภาพใช้การไม่ใด้ ครั้นจะหาใครมาช่วยเหลือก็ไม่ใด้ ซ้ำร้ายยังมีพวกมิจฉาชีพเข้ามาป่วนเปี้ยน เพื่อจ้องหาโอกาสลักขโมยเอาของวัดอีกด้วย จนเจ้าอาวาสองต้องรับภาระหน้าที่คอยเฝ้าทรัพย์สมบัติของวัดอย่างระมัดระวังมากขึ้น วันหนึ่งได้เข้าไปนั่งอธิษฐานจิตในโบสถ์หลังเก่า ซึ่งมีพระประธานองค์ใหญ่ จนเกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์คือ องค์พระประธานมีผิวเปล่งปลั่ง ผ่องใส่ไปด้วยทองคำเปลวที่ปิดทับองค์ไว้ จนดูสุกปลั่งสว่างไสว ทำให้รู้สึกอบอุ่นใจขึ้นมาก จึงก้มลงกราบและขอพรว่า "หากถึงฤดูกาลกฐินที่จะมาถึงนี้ แล้วยังไม่มีผู้ใดมารับเป็นเจ้าภาพ ก็คงหมายความว่า ความตั้งใจที่จะมาดูแลฟื้นฟูวัดนี้ คงทำไม่สำเร็จ และคงต้องขอลาสิกขาเป็นแน่แท้ แต่หากว่ายังจะพอมีบุญหลงเหลือตามที่ได้ตั้งเจตนาไว้ ขอให้มีผู้มาให้ความช่วยเหลือ ให้งานบูรณะวัดได้ประสบความสำเร็จลุถ่วงไปด้วยดี และหากเป็นจริงตามนี้ก็จะขออธิษฐานจิด ขอเป็นทาสเป็นข้ารับใช้พระพุทธศาลนาสืบต่อไปจนชั่วชีวิต" หลังจากที่อธิษฐานเสร็จ พระอธิการอดุลย์ก็ยังนั่งอยู่ในโบสถ์ต่อจนถึงเวลาเช้า และเช้าวันนั้นเอง ท่านก็ได้พบกับคุณโยมวินิจ ธันย์ชนกพงศ์ (โยมจุ่น) และภรรยา (โยมสำอาง) ได้เข้ามาที่วัด เพื่อทำบุญให้ญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว เลยได้ปรับทุกข์ให้โยมจุ่นฟังถึงเรื่องกฐินที่ยังไม่มีเจ้าภาพเลย หลังจากวันนั้นโยมจุ่นก็ได้พาคุณสะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์ ดาราอาวุโสมาหาที่วัด และรับปากว่าจะนำคณะดาราศิลปิน นักแสดง และพรรคพวกเพื่อนฝูง มาทอดกฐินที่วัดอย่างแน่นอน เมื่อถึงกำหนดวันทอดกฐิน คุณโยมสะอาดก็ได้นำคณะมาทอดกฐินที่วัดตามที่ใด้รับปากไว้ โดยมีชาวบ้านมาร่วมงานบุญด้วยอย่างล้นหลาม หลายคนบอกว่าวัดพญาไม้ไม่เคยมีผู้คนมาร่วมงานบุญกันมากมายเท่ากับครั้งนี้เลย ทำให้ทางวัดได้รับปัจจัยจำนวนหนึ่ง นำไปใช้เป็นทุนในการบูรณปฏิสังขรณ์โบสถ์ตามที่ได้ตั้งใจไว้



คุณสะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์ กล่าวเปิดใจว่า จากการเดินทางไปวัดพญาไม้บ่อยๆ ในช่วงนำคณะไปทำบุญทอคกฐินวันหนึ่งได้เข้าไปกราบพระประธานในโบสถ์หลังเก่า ซึ่งหากมองโดยผิวเผินจะเห็นเป็นพระธรรมดาๆ แต่หากพิจารณาให้ดี จะมองเห็นถึงความขลังของท่านได้โดยไม่ยากนัก พระประธานองค์นี้ปั้นได้อย่างถูกสัดส่วนตามพุทธลักษณะทุกประการ ผิวพรรณของท่านสุกใสเปล่งปลั่งน่าศรัทธาเลื่อมใส พระพักตร์ พระเนตร พระโอษฐ์ สวยงามมาก และถ้ามองดูให้นานๆ ก็จะเห็นรัศมี (อานุภาพ) ของความเมตตาของท่าน แผ่รังสีออกมาจนเห็นว่า ท่านยิ้มให้


ใครก็ตามที่กำลังมีความทุกข์ มีความไม่สบายใจ กำลังกลุ้มใจ เดือดเนื้อร้อนใจ หากมีโอกาสได้ไปนั่งสงบจิดสงบใจต่อหน้าพระประธานองค์นี้แล้ว ไม่นานนักก็จะมีความรู้สึกสบายใจขึ้นมาได้อย่างน่าประหลาดใจที่สุด และหากอธิษฐานจิตขอพรจากท่าน ก็จะได้อย่างสมใจปรารถนาตามที่ขอไว้ทุกประการ เรื่องนี้มีชาวบ้านหลายคนเคยประสบความสำเร็จสมหวังมาแล้ว รวมทั้งคุณสะอาด เปี่ยมพงส์ศานต์ด้วย จนถึงกับได้ปวารณาตัวว่าจะขอเป็นลูกศิษย์ของท่านไปตลอดชีวิต



คุณสะอาดยังบอกเพิ่มเติมว่า ผมจำได้ว่า ท่านยิ้มให้กับผม จนผมขนลุกไปหมดทั้งตัว และวันนั้นเอง ผมได้ขออนุญาตถวายชื่อท่านว่า "หลวงพ่อตามใจ" ตามพุทธลักษณะของท่าน เพราะคำว่า "ตามใจ" ถ้านับตามกำลังเลขศาสตร์ ท่านได้ตัวเลขเป็น 21 เท่ากับกำลังของพระศุกร์ ซึ่งหมายถึง การให้ที่สำเร็จลุล่วงด้วยดี หากมีใครมาขอพรอะไรจากหลวงพ่อตามใจ ก็จะได้สมหวัง เพราะท่านจะตามใจให้ตามที่ขอทุกอย่าง ขอให้พิสูจน์ด้วยตัวของท่านเองว่าจริงตามที่ผมบอกหรือไม่ และผมขอยืนยันอีกครั้งว่า ทุกครั้งที่ผมมองไปที่พระพักตร์ของหลวงพ่อตามใจ จะเห็นว่าท่านกำลังยิ้มให้ผมเสมอ



               ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า หลวงพ่อตามใจสร้างขึ้นแต่เมื่อใด หรืออัญเชิญมาจากที่ไหน  แต่ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในพระอุโบสถนับตั้งแต่สร้างวัดเป็นต้นมา และยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับหลวงพ่อตามใจ อาทิ เคยมีคนป่วยเป็นอัมพฤกษ์มานานหลายปี ได้เข้าไปกราบหลวงพ่อตามใจ พร้อมกับอธิษฐานขอพรให้ตนหายเป็นปกติ พอกลับบ้านก็ฝันเห็นคนแก่มาบอกให้รักษาศิล ไม่กินเนื้อสัตว์แล้วจะหาย พอทำตาม ปรากฏว่า อาการอัมพฤกษ์ก็หายเป็นปกติ



หลังกราบขอพรหลวงพ่อตามใจแล้ว ก็เดินทางต่อไปที่ศาลเจ้าหลักเมือง สิ่งศักดิ์คู่บ้านคู่เมืองที่ตั้งขึ้นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระองค์ทรงดำริว่า ที่ตั้งเมืองซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกหรือฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลองเสียเปรียบในเชิงยุทธศาสตร์กับพม่าที่เข้ามารุกราน จึงได้โปรดเกล้าให้ย้ายเมืองไปตั้งทางฝั่งตจะวันออกหรือฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลอง เพื่อให้ข้าศึกเข้าถึงตัวเมืองได้ยากขึ้น และมีทางถอยเมื่อเสียเปรียบ การย้ายเมืองครั้งนี้ได้มีการกำหนดฤกษ์ทำพิธีฝังหลักเมือง ทรงจัดให้มีพิธีฝังหลักเมือง มีการสมโภช 3 วัน 3 คืน ตั้งแต่วันอังคาร แรม 3 ค่ำ เดือน 6 ปีฉลู พ.ศ. 2360 จนถึงวันพฤหัสบดี แรม 15 ค่ำ เวลา 7 นาฬิกา ถึงกำหนดฤกษ์ฝังหลักเมือง ซึ่งก็สรุปได้ว่า "หลักเมืองราชบุรีเรียกกันว่าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองนั้น ตั้งขึ้นครังแรกในสนัยรัชกาลที่ 2 นั่นเอง เมื่อฝังหลักเมืองตามกำหนดฤกษ์แล้ว จึงให้มีการก่อสร้างกำแพงเมืองก่อด้วยอิฐถือปูน มีใบเสมา มีป้อม 6 ป้อม มีประตู 6 ประตู และยังก่อสร้างสิ่งอื่นๆ อีกด้วย



ปัจจุบันศาลจ้าพ่อหลักเมืองก็ยังคงอยู่ในบริเวณกำแพงเมืองเก่า ถึงแม้ว่าในปี พ.ศ. 2440 ได้มีการย้ายศาลากลางจังหวัด ซึ่งเดิมตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลอง (ในกำแพงเมือง) มารวมกันกับศาลาว่าการมณฑลฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลองก็ตาม ต่อมาในปี พ.ศ. 2448 ในบริเวณกำแพงเมืองได้เป็นที่ตั้งของกองพลทหารบกที่ 4 ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของค่ายทหาร "ค่ายภาณุรังษี" มีกรมการทหารช่างตั้งอยู่ในบริเวณกำแพงเมือง ซึ่งมีศาลเจ้าพ่อหลักเมืองอยู่ด้วยก็ต้องมีหน้าที่ดูแลและทำนุบำรุงรักษาบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองด้วย ซึ่งภายหลังศิลปากรได้มีออกแบบและสร้างศาลขึ้นมาใหม่ และในปี พ.ศ. 2527 กรมการทหารช่างได้ออกแบบและซ่อมปรับปรุงใหม่อย่างสวยงามจนถึงปัจจุบัน



คณะเราเดินขึ้นไปบนเศาลเจ้าพ่อหลักที่มีลักษณะเป็นมณฑปยอดปรางค์ทรงจตุรมุข เพื่อกราบสักการะหลักเมือง ที่มีลักษณะเป็นเสาแปดเหลี่ยมทำจากไม้ตั้งอยู่บนฐานกลม เสาสูง 131 เซนติเมตร  กว้าง 30 เซนติเมตร ฐานสูง 18 เซนติเมตร กว้าง 60 เซนติเมตร ที่ยอดเสามีลักษณะเป็นหัวเม็ด เจว็ดจะตั้งอยู่ด้านหลังหลัเมือง มีลักษณะคล้ายเสมาทรงสอบสูง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมสูง 141 เซนติเมตร กว้าง 17 เซนติเมตร ฐานสูง 27 เซนติเมตร กว้าง 48 เซนติเมตร นอกจากกราบสักการะหลักเมืองแล้ว เรายังกราบสักการะพระพิฆเนศอีก 2 องค์ที่อยู่ภายในศาล พระพิฆเนศ องค์ใหญ่มีลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถืทั้งสองข้างกุมอยู่ที่พระอุทร มีขนาดหน้าตักกว้าง 45 เซนติเมตร สูง 71 เซนติเมตร ส่วนพระพิฆเนศองค์เล็ก มีลักษณธประทับนั่งชันเข่าขวาข้างเดียว ลักษณะปางไม่ชัดเจน มีขนาดหน้าตักกว้าง 38 เซนติเมตร สูง 71 เซนติเมตร ทุกปีจะมีการจัดงานสมโภชศาลเจ้าพ่อหลักเมือง



จากนั้นเดินทางต่อไปที่วัดเขาวัง พระอารามหลวง เขาวังเดิมชื่อว่า "เขาสัตตนาถ" มีวัดอยู่วัดหนึ่งอยู่ตรงเชิงเขาด้านทิศตะวันออก แต่ร้างมานาน ในวัดนี้มีพระเจดีย์งงค์หนึ่งกับวิหารพระนอนย่อมๆ ไม่ใหญ่โตนักหลังหนึ่ง โบสถ์กับศาลาอีกอย่างละหลังอยู่ตรงเชิงเขาด้านตะวันออก สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2330 โดยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้ ยกกระบัตรเมืองราชบูรีเป็นผู้อำนวยการสร้าง เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการที่พระองค์ พร้อมด้วยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกกองทัพมาตีกองทัพพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2328 ณ ตำบลเขาช่องพราน ตำบลเขาชะงุ้ม ตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม โดยยกทัพผ่านมาทางเมืองราชบุรี แล้วตั้งค่ายมั่นอยู่ ณ หมู่บ้านโคกกระต่าย ตำบลธรรมเสน ยกทัพเข้าล้อมค่ายพม่าทางเขาช่องพราน คอยตัดกองลำเลียงเสบียง อาหาร ช้าง ม้า ของพม่า จนพม่าอดยาก เกิดการระส่ำระสาย จึงยกกองทัพเข้าตีจนพม่าแดกพ่าย และจับเชลยพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ได้มากมาย ทำให้พม่าเข็ดหลาบไม่กล้าที่จะยกทัพมารุกรานประเทศไทยอีก พระองค์โปรดเกล้าพระราชทานนามวัดนี้ว่า "วัดเขาสัดตนาถ"



ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จไปประพาสบนยอดเขานี้เมื่อ พ.ศ. 2415 ทรงพอพระราชหฤทัยและทรงดำริว่า เขาสัตตนาถประกอบด้วยเขาน้อยใหญ่อยู่ข้างๆอีกหลายถูก ถ้าได้สร้างพระราชวังและตำหนักเจ้านายขึ้น คงเป็นที่พักตากอากาศได้ดีแห่งหนึ่งจึงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ ดำเนินการจัดสร้างพระราชวังขึ้นบนยอดเขา และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ได้มอบหมายให้พระยาเพชรบุรี ซึ่งเคยเป็นนายงานสร้างพระนครดีรีที่จังหวัดเพชรบุรีตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 4 เป็นแม่กองสร้างพระราชวังบนเขาสัตตนาถ ที่เชิงเขาด้านตะวันออกมีโรงทหารรักษาพระองค์ 1 โรง ด้านพลับพลาเชิงเขามีโรงรถม้า โรงม้า ตรงทางสองแพร่งมีกระโจมสำหรับทหารยาม ต่อขึ้นไปมีโรงทหารมหาดเล็กสร้างเป็นแถวยาวหลังหนึ่ง เหนือขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งมีทีมดาบตำรวจอยู่ ตรงหน้าท้องพระโรงมีกำแพงแก้วล้อมรอบ ถัดมาเป็นท้องพระโรง ต่อจากท้องพระโรงเข้าไปเป็นพระที่นั่ง ต่อไปข้างหลังเป็นห้องเสวยและเป็นที่สำหรับพวกโขนอยู่ และไม่ปรากฏว่าได้รับพระราชทานนามอย่างใดไว้ ชาวเมืองราชบุรีเรียกกันแต่เพียงว่า "เขาวัง" มาจนถึงทุกวันนี้



แต่เป็นที่น่าเสียดายที่พระบาทสมเด็จพระจุลอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาประทับที่พระราชวังแห่งนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น เมื่อคราวเสด็จกลับจากประพาสไทรโยคและรับราชทูตโปรตุเกส แล้วก็ไม่ได้เสด็จประทับอีกตลอดรัชกาล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ก็ไม่ทรงโปรดและมีได้เสด็จไปประพาสเลย พระราชวังนี้จึงถูกทิ้งร้างอยู่ตลอดรัชกาล ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล 7 ตัวพระที่นั่งต่างๆ ชำรุดทรุดโทรมมาก ท่านทรงพระราชดำริเห็นว่า ถ้าจะคงรักษาไว้เป็นพระรชวังต่อไปอีก จะทำให้สิ้นเปลืองพระราชทรัพย์ในการซ่อมแซมรักษามาก ทั้งมิได้ตั้งพระราชพฤหัยจะเสด็จไปประพาสอีกด้วย พระราชวังนี้จึงถูกทิ้งให้รกว้างเป็นวังร้าง มีได้ทำการซ่อมแซมใดๆ เลย สภาพของขาวังได้กลายเป็นป่ารกชัฏ มีต้นไม้และเถาวัลย์น้อยใหญ่ขึ้นปกคลุม และเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด เป็นวังร้างเป็นเวลา 4: ปีเศษ คงเหลือแต่ซากท้องพระโรงและพระตำหนักที่บรรทมที่มีลักษณะปรักหักพังมาก แต่ยังมีหลังคาพอที่จะเป็นที่อาศัยได้บ้าง ส่วนลบานประตู หน้าต่าง และพื้นไม่มี เพราะถูกรื้อถอนไปหมด



จนถึงปี พ.ศ. 2467 พระครูพรหมสมาจารและพระครูภาวนานิเทศก์ ได้เดินทางธุดงค์วัตรมาถึง ณ เขาวังแห่งนี้ และเห็นว่าเป็นสถานที่อันสงัด เหมาะเป็นที่พำนักบำเพ็ญสมณธรรมเป็นอย่างยิ่ง จึงได้พักแรมเพื่อปฏิบัติธุดงค์วัตร บำเพ็ญสมณธรรมเป็นการชั่วคราว และได้ถือเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมถาวรนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2467 เป็นต้นมา เมื่อท่านทั้งสองได้พบพระราชวังชำรุดทรุดโทรมเพราะภัยธรรมชาติ ทั้งพระตำหนักที่บรรทมและท้องพระโรงเก่าอยู่ในสภาพที่ปรักหักพังน่าสังเวชสลดใจ จึงคิดที่จะบูรณะขึ้นใหม่ ในระหว่างนั้นท่านได้พำนักอาศัยบำเพ็ญสมถะวิปัสสนาอยู่ที่โคนต้นไม้ใหญ่ ได้มีชาวบ้านในละแวกนั้นศรัทธาเลื่อมใสเป็นจำนวนมาก 



ต่อมาเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ท.ศ. 2471 พระครูพรหมสมาจารได้มอบหมายให้หลวงสวรรค์เทพกิจ คหบดีของเมืองราชบุรี กับพระยาอรรถกวีสุนทร ข้าหลวงประจำจังหวัดราชบุรี ทำการยื่นเรื่องขอพระราชทานพระราชวังกับภูเขาสัตตนาถให้เป็นที่ธรณีสงฆ์เหมือนดังเดิม โดยผ่านทางกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงมหาดไทยได้ปรึกษากับกระทรวงธรรมการ ซึ่งกระทรวงธรรมการได้แจ้งว่า ทางฝ่ายคณะสงฆ์พอใจรับ จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และได้ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชอุทิศให้เป็นที่ธรณีสงมั่ เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2472 และได้ลงประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 46 หน้า 215 วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2475 ภายหลังจากได้รับพระราชทานพระราชวังและภูเขาสัตตนาถแล้ว พระครูพรหมสมาจารจึงได้ทำการรื้อพระราชวังที่ประทับเฉพาะส่วนที่ชำรุดทรุดโทรม แล้วต่อเดิมกำแพงผนังโดยเสริมคอนกรีตจากกำแพงผนังพระราชวังเดิม สร้างเป็นพระอุโบสถ โดยเทคอนกรีตทั้งหลัง มุงด้วยกระเบื้องเคลือบอย่างดี ติดช่อฟ้า ใบระกา ลงรักปิดทอง ติดกระจก โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 22 เมยายน พ.ศ. 2473 และดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2475 ตั้งชื่อวัดนี้ว่า "วัดเขาวัง" วัดนี้เราได้กราบสักการะพระประธานสีทองี่มีพุทธลักษณะสวยงามเปล่งรัศมีแผ่ไพศาลและกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าที่นำมาจากอินเดีย พร้อมชมความงดงามของพระพุทธรูปที่ประดับประดาด้วยเพชรนิลจินดาสวยงามวิจิตร



                 แล้วก็ได้เวลาเดินทางไป โฮเตล วิสมา ราชบุรี (Hotel Wisma Ratchaburi) เป็นโรงแรมที่พักสไตส์ทันสมัย อยู่ในเขตเมืองราชบุรี การเดินทางเข้า-ออก สะดวกสบาย ใกล้ทางหลวงหมายเลข 4 ห้องพักเป็นสไตล์คลาสสิก ทุกห้องตกแต่งได้อย่างลงตัวสวยงาม สะอาดสอ้าน มีสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องพักครบครัน พนักงานก็สุภาพ บริการประทับใจ เพื่อรับประทานอาหารกลางวัน ณ ห้องอาหาร และCheck in เข้าพัก



                 หลังรับประทานอาหารกลางวัน และพักผ่อนพอสมควร คณะเราก็เดินทางไปขึ้นเขาแก่นจันทร์ เขาแก่นจันทร์ เดิมชื่อ "เขาจันทร์แดง" มีความสูงประมาณ 14 เมตร มีถนนตัดขึ้นไปถึงยอดเขา บนยอดมีวิหารประดิษฐานพระพุทธนิโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่า "พระสี่มุมเมือง" เป็นพระ 1 ใน 4 องค์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น แล้วพระราชทานไปประดิษฐานไว้ ณ เมืองต่างๆ สี่เมืองได้แก่ ราชบุรี ลำปาง สระบุรี และพัทลุง จัดสร้างขึ้นตามความเชื่อและโบราณประเพณีของบ้านเมืองที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่จะต้องมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้องขอบขัณฑสีมาทั้งสี่ทิศ โดยการสร้างพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศนั้นเป็นการสร้างพระพุทธรูปแบบ "จตุรพุทธปราการ" กล่าวคือเป็นการนำเอาวัดหรือพระพุทธรูปเป็นปราการทั้งสี่ด้าน เพื่อปกป้องภยันตรายจากอริราชศัตรู ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย เสริมสร้างดวงชะตาแก่บ้านเมือง และคุ้มครองพสกนิกรทั้งมวลให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข โดยนำต้นแบบมาจาก "พระพุทธนิรโรคันตราย" พระพุทธรูปประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6  ซึ่งเป็นผู้พระราชทานก่อตั้งกรมการรักษาดินแดน อีกทั้งเมื่อพิจารณาความหมายของพระนามของพระพุทธรูป อันหมายถึง "การปราศจากซึ่งภยันตรายทั้งปวง" นับว่าเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะสถาปนาให้เป็นพระสี่มุมเมืองของไทย ซึ่งกรมการรักษาดินแดน ขณะนั้นมีพลโท ยุทธ สมบูรณ์ เป็นเจ้ากรมฯ  เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง แล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเททองหล่อพระ ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  รัชกาลที่ 9 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเททอง ณ กรมการรักษาดินแดน กรุงทพมหานคร เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2511 และได้โปรดเกล้าฯ ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 4 จังหวัดเข้ารับพระราชทานพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานพระราชวังดุสิต เพื่อนำไปประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประจำทิศทั้งสี่ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2511


               เมื่อถึงด้านบนเขาแก่นจันทร์ เราก็เดินเข้าไปภายในมณฑปจัตุรมุข ก่ออิฐถือปูน โครงสร้างหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงทับด้วยกระเบื้องอย่างไทยโบราณ บานประตู หน้าต่าง ลงรักปิดทองทั้งสี่ด้าน  เพื่อกราบสักการะพระพุทธนิโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศที่ประดิษฐานอยู่ภายในมณฑป  เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิราบตามแบบศิลปะสุโขทัย โดยมีพระพักตร์แจ่มใส พระเนตรเปิด พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย หล่อด้วยสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง 49 นิ้ว



หลังจากกราบไหว้พระพุทธนิโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ คณะเราก็เดินเล่นกันชิวๆ  เพื่อชมทัศนียภาพที่สวยงามตระการตาของตัวเมืองราชบุรี จากนั้นก็ลงจาก้ขาแก่นจันทร์มาที่บริเวณเชิงเขาเพื่อกราบพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ที่ชาวราชบุรีได้พร้อมใจกันสร้างในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี และสร้างเป็นสวนสาธารณะจักรีอนุสรณ์สถาน ตามด้วยการกราบสักการะเจ้าแม่แก่นจันทร์ ที่ศาลเจ้าแม่เก่นจันทร์ บริเวณใกล้เชิงเขาแก่นจันทร์  เล่ากันว่า ท่านเป็นทพที่สถิตอยู่ในไม้แก่นจันทร์ ซึ่งเป็นไม้ที่มีกลิ่นหอม มือายุนานนับ 100 ปี จึงมีความศักดิ์สิทธิ์มาก โบราณว่าไว้ ต้นไม้ต้นใดที่มีแก่นสูงตั้งแต่ 1 คืบขึ้นไป จะมีวิมานของรุกขเทวดาสถิตอยู่ เพื่อคอยดูแลรักษาผู้ที่มากราบไหวับูชา และมักจะเรียกชื่อของรุกขเทวดาประจำต้นไม้ตามชื่อของต้นไม้นั้น  ดังนั้นไม้เก่นจันทร์จึงมีผู้เลื่อมใสตั้งให้เป็น "เจ้าแม่แก่นจันทร์" เดิมทีเจ้าแม่เป็นท่อนไม้แก่นจันทร์ แต่ภายหลังมีหญิงสาวไปเข้าฝันชาวบ้านคนหนึ่งบอกว่าไม่อยากอยู่ในสภาพขอนไม้ อยากมีรูปร่างเป็นมนุษย์ ครั้งแรกชาวบ้านก็ไม่เชื่อไม่สนใจ เจ้าแม่จึงไปเข้าฝันชาวบ้านอีกหลายๆ คน เมื่อฝันประหลาดตรงกันชาวบ้านจึงเริ่มเชื่อและได้ทำการแกะสลักไม้แก่นจันทร์ ให้มีรูปร่างเป็นหญิงสาว สำหรับความป็นมาของ "เจ้าแม่แก่นจันทร์" ที่ชาวราชบุรีให้ความเคารพศรัทธานิยมมากราบไหวัขอบารมีคุ้มครองนั้น มีมานานหลายสิบปี



แล้วก็ถึงเวลาอาหารเย็น  คณะเราจึงเดินทางไปตลาดยามเย็นโคยกี้ เป็นหนึ่งเดียว มีอาหารให้เลือกทานตามใจชอบหลายอย่าง หลังอิ่มหนำสำราญก็เดินเล่นกันเพลินๆ เขื่อนรัฐประชาพัฒนา แม่น้ำแม่กลอง เขตเทศบาลเมืองราชบุรี อ.เมืองราชบุรี ชมประติมากรรม "มังกรพันโอ่งพ่นน้ำ" หนึ่งในโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวตลาดโคยกี๊ 200 ปี ซึ่งเป็นแลนด์มาร์คสัญลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดราชบุรี แห่งใหม่ของราชบุรี เป็นมังกรทองยักษ์ที่เลื้อยพันรอบโอ่งมังกร 2 ตัว มีความสูง 6 เมตร ฐานและความกว้างรวม 9 เมตร หันหน้าพ่นน้ำลงสู่แม่น้ำแม่กลอง คล้ายกับสิงโตพ่นน้ำของประเทศสิงค์โปร์ ที่ตั้งอยู่ที่เมอร์ไลอ้อน พาร์ค (Merlion Park) เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวให้เมืองราชบุรีเกิดความคึกคัก จาดนั้นก็เดินทางดลับ Hotrl Wisma Ratchaburi เพื่อพักผ่อนเาแรงไว้เดินทางสายมูในวันรุ่งขึ้น


                เช้าวันใหม่  คณะเรานั่งรถรางเที่ยวกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเมืองราชบุรี โดยทางตลาดศรีเมืองได้ให้ความอนุเคราะห์รถรางพาเราเที่ยว เริ่มจากวัดมหาธาตุวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี เป็นพระอารามหอวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สร้างตั้งแต่สมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งเขมร มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ตั้งอยู่เกือบใจกลางเมืองราชบุรี เดิมลเรียกว่า "วัดหนัาพระธาตุ" หรือ "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ" เมื่อเราเดินเข้าไปภายในวัด เราจะพบพระวิหารหลวง เป็นซากอาคารในแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาว 9 ห้อง ฐานล่างสุดก่อด้วยศิลาแลง ด้านหน้ามุขยื่น บนพระวิหารเคยมีเจดีย์ขนาดเล็กตั้งอยู่แต่หักพังหมดแล้ว บนฐานพระวิหารมีอาคารไม้โล่งสร้างเมื่อ พ.ศ. 2455 ภายในประดิษฐาน "พระมงคลบุรี" เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นแกนหินทรายขนาดใหญ่ ปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่ 2 องค์ เรียก พระศรีนัคร์ประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์ชนกัน  เป็นพุทธศิลปเบบอยุธยาตอนต้นก็เรียก อู่ทองยุคหลังก็เรียก อู่ทองหน้าหนุ่มก็เรียก พุทธลักษณะพระพักตร์สุโขทัย พระองค์ยาว พระชาณุสั้น (ตัวยาวเข่าสั้น) เป็นเอกลักษณ์ของพระอู่ทองยุคหลัง ขนาดหน้าตักกว้าง 8 ศอก 1 คืบ หันหลังให้กัน องค์หนึ่งหันหน้าไปยังทิศตะวันออก อีกองค์หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ความหมายก็คือ ช่วยระวังภัยพิบัติทั้งหน้าหลัง เรียกพระรักษาเมือง ตามความเชื่อของคนในสมัยนั้น



เมื่อกราบสักการะพระมงคลบุรี เพื่อช่วยระวังหน้าหลังให้เราแล้ว คณะเราก็เดินไปภายนอกทางด้านหลังพระวิหาร จะพบกับระเบียงคต เป็นอาคารที่เก็บพระพุทธรูปที่รวบรวมจากวัดร้างต่างๆ มาเก็บไว้ พระพุทธรูปในระเบียงคตจึงมีหลากหลายศิลปะ ทั้งศิลปะทวารวดี เขมร อยุธยา และรัตนโกลินทร์ และพระปรางค์ประธาน เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ก่อด้วยหินศิลาแลงสูง 12 วา  มีการตกแต่วองค์พระปรางค์ด้วยลายปูนปั้นอย่างงดงาม ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ 

เดินไปอีกฝั่งก็จะเป็นพระอุโบสถ จากหลักฐานทางสถาปัตยกรรมสันนิษฐานว่า สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาลด 2 ชั้น 3 ตับ เป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้าและหลังทำพาไลยื่นมารองรับโครงหลังคาด้วยเสาปูน 3 ต้น ด้านข้างมีชายคาปีกนกโดยรอบ ฐานอาคารมีศิลปะแบบอยุธยาตอนปลายคือ แอ่นโค้งคล้ายเรือสำเภา หรือที่เรียกว่าแอ่นท้องช้าง ซุ้มประตูหนัาต่างปั้นปู่นประดับกระจกเป็นซุ้มหน้านาง ภายในพระอุโบสถประศิษฐานพระพุทรรูปปางมารวิชัยประทับนั่งบนดอกบัว  ด้วนนอกโดยรอบมีกำแพงแก้วก่ออิฐถือปูนล้อมรอบ และทางด้านซ้ายของปรางค์ ยังมีมณฑปเดิม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาท (รูปเท้าของพระพุทธเจ้า) สร้างด้วยหินทรายสีชมพู ไม่ใช่รอยพระพุทธบาท (รอยเท้าของพระพุทธเจ้าที่ประทับไว้)



ตามด้วยวัดช่องลม เดิมชื่อ "วัดช้างล้ม" เพื่อกราบสักการะ "หลวงพ่อแก่นจันทร์" เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น สร้างด้วยโลหะทองคำ สัมฤทธิ์ ส่วนล่างแกะสลักจากไม้จันทร์ มีความสูงตั้งแต่พระบาทถีงพระเกศมาลา 2.26 เมตร (ประมาณ 5 ศอก) ลักษณะอุ้มบาตรของหลวงพ่อแก่นจันทร์ แตกต่างจากปางอุ้มบาตรทั่วไป ตรงที่บาตรของหลวงพ่อเหมือนสวมอยู่ในถุงบาตร และพระหัถต์ของหลวงพ่อนั้นจับอยู่ที่ม้วนผ้า ซึ่งยืนออกมาจากบาตรราว 1 คืบ

       หลังกราบหลวงพ่อแก่นจันทร์แล้ว ก็เดินทางกันต่อไปที่วัดโรงช้าง  ในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ประมาณปี พ.ศ. 2404 เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีตำนานเล่าว่า ในอดีตบริเวณวัดโรงช้างตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำแม่กลองและมีสภาพพื้นที่เป็นที่โล่ง ทางการจึงนำช้างที่จะใช้เพื่อการศึกมาเลี้ยงไว้ที่บริเวณนี้เป็นจำนวนมาก ประกอบกับมีวัดตั้งอยู่ ชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดแห่งนี้ว่า "วัดโรงช้าง" ภายในวัดยังมีอาคารเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ พระอุโบสถ กุฏิสงฆ์ และหอระฆังเก่า แต่หลักฐานของสถาปัตยกรรมสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่เกือบทั้งหมด คณะเราจึงไม่เห็นความเก่าแก่โบราณคงเหลือให้เห็น วัดนี้เรากราบสักการะหลวงพ่อโตปางเลไลย์ 

จากวัดไทย คณะเราก็เดินทางมากราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของจีนกันบ้าง โดยเดินทางไปที่ศาลเจ้าพ่อกวนอู เพื่อน่าท่านเข้ากราบใหว้เจ้าฟอกวนอู และบริจาคทำาบุญโรงศพกับมูลนิธิประชานุกุล



กราบสิ่งศักดิ์สิทธิ์จนเพลิน ก็ได้เวลาอาหารกลางวัน มื้อนี้คณะเรามานกันที่ ร้านก็วยเตี๋ยวไข่คุณแหม่ม ที่มีเมนูเด็ดๆ มากมายหลายอย่าง แต่ที่เป็นซิกเนเจอร์ที่ขึ้นชื่อของร้านก็คือ "ก๋วยเตี๋ยวไข่ต้มยำและเส้นหมี่แห้งโบราณ" ที่คณะเราต่างยกนิ้วให้ว่า "อร่อยเหาะจริงๆ" แต่ก่อนทานก๋วยเตี๋ยวที่เป็นเดมนูเด็ด ก็ต้องเรียกน้ำย่อยกันก่อนกับ "หมูสะเต๊ะ" ที่อร่อยไม่แพ้กัน

หลังอิ่มหม่พลีมันกันแล้ว รถรางได้พาคณะมาแวะที่ตลางศรีเมือง ให้ได้ช้อปปิ้งของฝากติดไม้ติดมือ ที่มีพืชผัก ผลไม้ให้เลือกซื้อมากมาย ไม่ว่าจะเป็นมังคุด เงาะโรงเรียน ฯลฯ แต่ที่คณะเราสนใจมากที่สุดคือ ทุเรียนที่มีมากมายหลายพันธ์ ทั้งทุเรียนหมอนทอง ทุเรียนชะนี ทุเรียนก้านยาว หรือ ทุเรียนป่าละอู มีให้เลือกซื้อกันอย่างจุใจในราคาไม่แพง เพราะที่นี่เป็นตลาดขายส่ง

ช้อปของฝากติดไม้ติดมือจนกระเป๋าแฟบ ก็สมควรกับเวลาที่ต้องเดินทางกลับ ระหว่างทางก็แวะคลายร้อนกันที่ร้านกาแฟ DOD Cale & Bustro  สัมผัสกับคาเฟ่ Modern Tropical แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของนครปฐม สไตล์สวนที่มีพันธุ์ไม้ต่างๆ สร้างความร่มรื่น ใจกลางสวนมพร้าวและสวนส้มโอ สัมผัสธรรมชาติและบรรยากาศดีๆ มีมุมสวยๆ ให้ถ่ายภาพมากมาย พร้อมลิ้มรสชาดิของเครื่องดื่มและอาหารคาวหวาน มื้อเย็นคณะเราก็เลยทานอาหารที่นี่ มีอาหารให้เลือกทานมากมาย ที่สำคัญรสชาติอาหารอร่อยสุดยอดจริงๆ ต้องยกนิ้วให้เลย หลังทานอาหารอร่อย เซลฟี่กับมุมถ่ายรูปสวยๆ ก็ได้เวลาเดินทางสู่กรุงเทพมหานครโดยสวัสดิภาพ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สทท. จัด ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 โดยมี รมว. ท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วย ผู้ว่าการ ททท. ร่วมปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "เดินหน้าท่องเที่ยวไทย"

สทท. จัด   ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567  โดยมี  รมว. ท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วย ผู้ว่าการ ททท. ร่วม ปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "เดินหน้าท่องเที่ยวไทย"        นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) จัด ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 แถลงนโยบาย  สทท. ประจำปี 2567  และแถลงข่าว "ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยและอัพเดตสถานการณ์ทองเที่ยว" ไตรมาส 2/2567  พร้อมฟังการ บรรยายปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "เดินหน้าท่องเที่ยวไทย" จาก นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยมี  นายจีรวัฒน์ ลีนะกนิษฐ์ ที่ปรึกษา รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  ดร.เพ็ญพิสุทธ์ จินตโสภณ เลขานุการ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการ ท่องเที่ยวและกีฬา  นายวิทวัส เมฆสุต  นายกสมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวไทย (สนท.)  นายวัสน์พล อรรถพรธนเสฐ นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย  คณะกรรมการบริหาร แล

"ฉลอม" ประธาน TFOPTA จัดประชุมคณะกรรมการ ปี 2567-2569 ครั้งที่ 1 และร่วมเปิดเส้นทางท่องเที่ยว “ช้อปของดี เที่ยววัดดัง บางคล้า ฉะเชิงเทรา”

"ฉลอม" ประธาน TFOPTA  จัด ประชุมคณะกรรมการ ปี 2567-2569 ครั้งที่ 1 และร่วม เปิดเส้นทางท่องเที่ยว “ช้อปของดี เที่ยววัดดัง บางคล้า ฉะเชิงเทรา”         นางฉลอม สงล่า ประธานสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (TFOPTA) จัดประชุมคณะกรรมการ สมาคมสมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย TFOPTA ปี 2567-2569 ครั้งที่ 1 เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานร่วมหาแนวทางการขับเคลื่อนในการท่องเที่ยวให้เกิดการสนับสนุน เชื่อมโยงกับหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน โดยมีนายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ให้เกียรติร่วมงาน  พร้อมด้วยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการท่องเที่ยวและ คณะกรรมการจากทุกภูมิภาคที่มาร่วมประชุมอย่างคับคั่ง  ณ ห้องประชุมบางปะกง  ณ ห้องบางปะกง ชั้น 2 โรงแรม ที วินเทจ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา  เมื่อ วันที่ 21 มิถุนายน 2567            สมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย  (TFOPTA)  จัดประชุมคณะกรรมการในครั้งนี้ ได่ร่วมกับภาคีเครือข่าย เปิดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวตามนโยบายรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน นายกร

นายกสมาคมท่องเที่ยวต่างๆ ร่วมแสดงความยินดีกับ "เจริญ" ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นนายก TTAA สมัยที่สอง

นายกสมาคมท่องเที่ยวต่างๆ ร่วมแสดงความยินดีกับ "เจริญ" ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นนายก TTAA สมัยที่สอง            สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว THAI TRAVEL AGENTS ASSOCIATION ( TTAA) นำโดยนายเจริญ วังอนานนท์ นายก TTAA  จัด ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 และเลือกตั้งคณะกรรมการ ประจำปี 2567-2569   โดย มีคณะกรรมการสมาคมฯ สมาชิก  และ ได้รับเกียรติจากนาย เอนก ศรีชีวะชาติ อดีตนายกสมาคม นานศุภฤกษ์ ศูรางกูร อดีตนายก ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิ ที่ทีเอเอ เพื่อเพื่อนมนุษย์ คุณนวลจันทร์ เพียรธรรม พร้อมด้วยบุคคลในวงการท่องเที่ยว เข้าร่วมประชุม ณ   ห้องประชุม 208-209 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อ วันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2567        สำหรับการ ประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2566  ในครั้งนี้ เริ่มจาก วาระการประชุมใหญ่ สามัญ ประจำปี 2566  ในวาระต่างๆ   โดยมี นายเจริญ วังอนานนท์ นายก สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว  ( TTAA)  เป็นประธาน เปิดการประชุม  พร้อมด้วยคณะกรรรมการสมาคมฯ         โดยการ ประชุมใหญ่ สามัญ ประจำปี 2566  ในครั้งนึ้มีวาระสาระสำคัญ ดังนี้คือ วาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทรา