ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประชาชนร่วมงานสมโภชหลักเมืองและงานกาชาด จ.ยะลา ครั้งที่ 62 สุดยิ่งใหญ่อลังการ ต่างชื่นชมขบวนพาเหรดวัฒนธรรมและของดีเมืองยะลา 8 อำเภอ ที่สวยงามอย่างมีความสุข (ตอนที่ 2)

ประชาชนร่วมงานสมโภชหลักเมืองและงานกาชาด จ.ยะลา ครั้งที่ 62 สุดยิ่งใหญ่อลังการ 

ต่างชื่นชมขบวนพาเหรดวัฒนธรรมและของดีเมืองยะลา 8 อำเภอ ที่สวยงามอย่างมีความสุข (ตอนที่ 2)

          งานสมโภชหลักเมืองและงานกาชาด จ.ยะลา ครั้งที่ 62 ในช่วงบ่าย นายอำพล  พงศ์สุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นางฉลวย พงค์สุวรรณ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดยะลา และรองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา 2 ท่าน คือนายธีรุตม์ ศุภวิบูลย์ผล และนายอำนาจ ชูทอง สมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัดยะลา หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสากิจ และประชาชนเข้าร่วมชมขบวนแห่พาเหรด "แห่วัฒนธรรมและของดีเมืองยะลา" ที่สวยงามหลากสีสันตระการตาจากอำเภอต่างๆ ทั้ง 8 อำเภอในจังหวัดยะลา เริ่มจากขบวนพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10) และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ตามด้วยขบวน "อนุสรณ์สถาน สะพานยีลาปัน อุทยานบางลาง ถิ่นบันนังสตา" ของอำเภอบันนังสตา นำโดย นายเชาวลิต  สิทธิฤทธิ์ นายอำเภอบันนังสตา ที่สื่อถึงเรืองราวความเป็นมาของคำขัวญประจำอำเภอ ที่ว่า "ถิ่นนามะปราง บางลางอุทยาน อนุสรณ์สะพานโบราณ คู่บ้านกล้วยหิน" ตามด้วยขบวนของอำเภอยะหา ในชื่อ "ขจัดทุกข์บำรุงสุขปวงประชา สอดประสานพหุวัฒนธรรม นำความยั่งยืนสู่ชุมชน" นำโดยนายมนตรี เสฏฐปัญโญ นายอำเภอยะหา ที่บอกเรื่องราวถึงความจงรักภักดีและความสมัครสมานสามัคคีภายใต้พระบรมจักรีวงศ์ และแสดงถึงการผสานความแตกต่างและหลากหลายของวิถีชีวิตประชาชน เหมือนกรรมวิถีในการสานวัตถุดิบที่นำมาใช้ได้จากพื้นที่ แสดงความสมบูรณ์ของอำเภอ รวมทั้งแสดงวิถีวัฒนธรรมไทย พร้อมของดี สินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน ต่อด้วยขบวน "สืบสานพหุวัฒนธรรมล้ำค่า อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น พอเพียงตามศาสตร์พระราชา ชาวกาบังน้อมใจเทิดไทองค์ราชันย์" ของอำเภอกาบัง นำโดยนายอัมรันท์ บากา นายอำเภอกาบัง ที่บอกถึงการถวายความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ พหุวัฒนธรรมที่หลากหลาย และการเฉลิมพระชนม์พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10) 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 รวมถึงประเพณีวัฒนธรรมและการผสมผสานวัฒนธรรมสมัยใหม่ ตามติดด้วยขบวนของอำเภอรามัน ในชื่อ "เทิดพระเกียรติ 72 พรรษาองค์ราชันย์ รามันรามัย เมืองใหญ่วัฒนธรรม เลิศล้ำภูมิปัญญา วัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง"  นำโดยนายจรูญศักดิ์ หมาดเท่ง นายอำเภอรามัน ที่มีความหมายถึงความจงรักภักดี การเคารพเทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ แสดงให้เห็นถึงเมืองแห่งฐานะความั่นคงทั้งด้านการเมืองและทรัพย์สิน ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ที่โดดเด่นกว่าเมืองอื่นๆ ใน 7 หัวเมือง จนสามารถสร้างงานศิลปกรรมและมหรสพชั้นสูงที้เป็นที่เล่าขาน เป็นสิ่งที่มีความโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์ให้จดจำ และเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและอารยธรรมที่ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษ รวมถึงการน้อมนำ "หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9  จากนั้นเป็นขบวน "เมืองยะลาสามวิถี สดุดีองค์ราชันย์ สืบสานภูมิปัญญา ดำรงค่าความเป็นไทย" ของอำเภอเมืองยะลา‎ นำโดยนายนพพร หนูเพชร นายอำเภอเมืองยะลา ที่แสดงถึงการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 72 พรรษา สืบสานภูมิปัญญาวิถีพุทธ วิถีมุสลิม และวิถีจีนที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขใต้ร่มธงไทย ต่อด้วยขบวนของอำเภอกรงปินัง เป็นขบวน " 72 พรรษามหาราชา พยุหยาตรานำพาชีวี ผ่านสายนที ซือแนฮาตีดีกรงปินัง" นำโดยนายเอกวิทย์ จันทวงษ์ นายอำเภอกรงปินัง ที่สื่อถึงขบวนพยุหยาตราทางชลมารคที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว - ราชินี เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้ากฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   รวมทั้งบอกเล่าเรื่องราวความเป็นเอกลักษณ์ในพื่นที่ อาทิ ท่องเที่ยวชุมชนยั่งยืน การละเล่นของชาวมาลายูในอดีต ต่อยอดเศรษฐกิจพอเพียง ตามติดด้วยขบวน "สืบสานพาหุวัฒนธรรม ถิ่นด้ามขวาน อำเภอธารโต" ของอำเภอธารโต นำโดยนายสุริยา บุญพันธ์ นายอำเภอธารโต ที่แสดงออกถึงความจงรักภักดี การเคารพเทิดทูนต่อพระมหากษัตริย์ รวมถึงประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นในพื้นที่ และแสดงอัตลักษณ์ในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยว ผลไม้ ชนเผ่าโอรังอัสลี (ซาไก) และภูมิปัญญาท้องถิ่น ปิดท้ายด้วยขบวนของอำเภอเบตง ในชื่อขบวนว่า "น้อมใจสดุดี องค์ภูมีแห่งสยาม งามตระการ หลากวัฒนธรรม เมืองงามสุดแผ่นดิน เสน่ห์งามล้ำเมืองเบตง" นำโดยนายอมร ชุมช่วย นายอำเภอเบตง ที่บ่งบอกถึงการแสดงความจงรักภักดีและสดุดีร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา รวมทั้งประเพณีวัฒนธรรม ของดีที่หลากหลาย ซึ่งขบวนแห่ของแต่ละอำเภอก็จัดมาอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อประชันกันถึงความสวยงามอย่างเลิศเลอ แสดงถึงของดีและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของที่อำเภอตนเองมีมานำเสนอ รวมทั้งขวนแห่ของหน่วยงานราชการและเอกชน ที่มาร่วมในขบวน แห่ไปรอบตัวเมืองยะลา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สทท. จัด ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 โดยมี รมว. ท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วย ผู้ว่าการ ททท. ร่วมปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "เดินหน้าท่องเที่ยวไทย"

สทท. จัด   ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567  โดยมี  รมว. ท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วย ผู้ว่าการ ททท. ร่วม ปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "เดินหน้าท่องเที่ยวไทย"        นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) จัด ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 แถลงนโยบาย  สทท. ประจำปี 2567  และแถลงข่าว "ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยและอัพเดตสถานการณ์ทองเที่ยว" ไตรมาส 2/2567  พร้อมฟังการ บรรยายปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "เดินหน้าท่องเที่ยวไทย" จาก นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยมี  นายจีรวัฒน์ ลีนะกนิษฐ์ ที่ปรึกษา รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  ดร.เพ็ญพิสุทธ์ จินตโสภณ เลขานุการ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการ ท่องเที่ยวและกีฬา  นายวิทวัส เมฆสุต  นายกสมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวไทย (สนท.)  นายวัสน์พล อรรถพรธนเสฐ นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย  คณะกรรมการบริหาร แล

"ฉลอม" ประธาน TFOPTA จัดประชุมคณะกรรมการ ปี 2567-2569 ครั้งที่ 1 และร่วมเปิดเส้นทางท่องเที่ยว “ช้อปของดี เที่ยววัดดัง บางคล้า ฉะเชิงเทรา”

"ฉลอม" ประธาน TFOPTA  จัด ประชุมคณะกรรมการ ปี 2567-2569 ครั้งที่ 1 และร่วม เปิดเส้นทางท่องเที่ยว “ช้อปของดี เที่ยววัดดัง บางคล้า ฉะเชิงเทรา”         นางฉลอม สงล่า ประธานสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (TFOPTA) จัดประชุมคณะกรรมการ สมาคมสมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย TFOPTA ปี 2567-2569 ครั้งที่ 1 เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานร่วมหาแนวทางการขับเคลื่อนในการท่องเที่ยวให้เกิดการสนับสนุน เชื่อมโยงกับหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน โดยมีนายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ให้เกียรติร่วมงาน  พร้อมด้วยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการท่องเที่ยวและ คณะกรรมการจากทุกภูมิภาคที่มาร่วมประชุมอย่างคับคั่ง  ณ ห้องประชุมบางปะกง  ณ ห้องบางปะกง ชั้น 2 โรงแรม ที วินเทจ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา  เมื่อ วันที่ 21 มิถุนายน 2567            สมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย  (TFOPTA)  จัดประชุมคณะกรรมการในครั้งนี้ ได่ร่วมกับภาคีเครือข่าย เปิดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวตามนโยบายรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน นายกร

นายกสมาคมท่องเที่ยวต่างๆ ร่วมแสดงความยินดีกับ "เจริญ" ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นนายก TTAA สมัยที่สอง

นายกสมาคมท่องเที่ยวต่างๆ ร่วมแสดงความยินดีกับ "เจริญ" ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นนายก TTAA สมัยที่สอง            สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว THAI TRAVEL AGENTS ASSOCIATION ( TTAA) นำโดยนายเจริญ วังอนานนท์ นายก TTAA  จัด ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 และเลือกตั้งคณะกรรมการ ประจำปี 2567-2569   โดย มีคณะกรรมการสมาคมฯ สมาชิก  และ ได้รับเกียรติจากนาย เอนก ศรีชีวะชาติ อดีตนายกสมาคม นานศุภฤกษ์ ศูรางกูร อดีตนายก ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิ ที่ทีเอเอ เพื่อเพื่อนมนุษย์ คุณนวลจันทร์ เพียรธรรม พร้อมด้วยบุคคลในวงการท่องเที่ยว เข้าร่วมประชุม ณ   ห้องประชุม 208-209 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อ วันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2567        สำหรับการ ประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2566  ในครั้งนี้ เริ่มจาก วาระการประชุมใหญ่ สามัญ ประจำปี 2566  ในวาระต่างๆ   โดยมี นายเจริญ วังอนานนท์ นายก สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว  ( TTAA)  เป็นประธาน เปิดการประชุม  พร้อมด้วยคณะกรรรมการสมาคมฯ         โดยการ ประชุมใหญ่ สามัญ ประจำปี 2566  ในครั้งนึ้มีวาระสาระสำคัญ ดังนี้คือ วาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทรา