ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

"วิทวัส" นายกสนท. นำสมาชิกเปิดสถานที่ใหม่ แบบไม่ซ้ำใคร @ อุทัยธานี ในแฟมทริป #2 "อิ่มไม่อั้นทุเรียนป่าเงาฝนอุทัย"

"วิทวัส" นายก สนท. นำสมาชิกเปิดสถานที่ใหม่ แบบไม่ซ้ำใคร @ อุทัยธานี

ในแฟมทริป #2 "อิ่มไม่อั้นทุเรียนป่าเงาฝนอุทัย"



          สมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวไทย (สนท.) นำโดย นายวิทวัส เมฆสุต นายกสมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวไทย (สนท.) ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานอุทัยธานี และสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวอุทัยธานี นำสมาชิกจำนวน 40 ท่าน เดินทางสู่จังหวัดอุทัยธานี ในแฟมทริป #2 "อิ่มไม่อั้นทุเรียนป่าเงาฝนอุทัย" เปิดสถานที่ใหม่ แบบไม่ซ้ำใคร @ อุทัยธานี ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน-1กรกฎาคม 2567





  

          คณะพร้อมกัน ณ จุดนัดพบ โรงแรมเดอะบาซาร์ แบงค์คอก ถนนรัชดาภิเษก โดยมีเจ้าหน้าที่ของสมาคมฯ คอยให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวก เมื่อมาพร้อมกันแล้ว คณะของเราก็เดินทางมุ่งหน้าสู่จังหวัดอุทัยธานี "เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้าน น้ำตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ" ทันที เมื่อไปถึงจังหวัดอุทัยธานี คณะของเราก็เดินทางไป "ฟาร์มควายบ้านกำนันโป๊ด" ตำบลหนองกลางดง อำเภอทัพทัน   เพื่อชมวิถีคนเลี้ยงควายแบบดั้งเดิมที่อิงธรรมชาติเป็นหลัก รวมถึงการแสดงให้เห็นความเป็นมาเป็นไปของพันธุกรรมควายที่สืบเนื่องกันมาตั้งแต่พ่อพันธุ์ตัวแรกจนตัวปัจจุบัน ควายที่นี่เป็นพันธุกรรมดั้งเดิมของอุทัยธานีที่ตัวใหญ่มาก และมีราคาเป็นล้าน





          หลังจากแอ็คชั้นเซลฟี่กับความราคาหลักล้าน คณะเราก็เดินทางไปชมงานศิลป์แห่งแผ่นดิน นั่นคือ "อุโบสถไม้เก่าแก่ วัดวังสาริกา" ตำบลหนองกระทุ่ม อำเภอทัพทัน เป็นอุโบสถที่แปลกกว่าอุโบสถที่เคยพบเห็นมา คือ มีฝาผนังเป็นไม้ กว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร หน้าบันเป็นลวดลายปูนปั้นแสดงภาพพระพุทธประวัติ พื้นล่างก่อด้วยอิฐถือปูน ส่วนลายบนประตูเฟี้ยมเป็นลายภาพสัตว์ในป่าหิมพานต์ เมื่อไปถึงคณะราก็กราบนมัสการ "พระครูอุเทศ ธรรมสาฑิต" เจ้าคณะตำบลหนองกระทุ่มและเป็นเจ้าอาวาสวัดวังสาริกาท่านได้เล่าถึงประวัติความเป็นมาของวัดแห่งนี้ว่าในปี พ.ศ. 2434 นายเสา แยบเขตรกรณ์ ได้ริเริ่มหาที่ดินเพื่อสร้างวัดและจับจองที่ดินเนื้อที่ 10 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์กลางให้คนมาทำบุญและปฎิบัติธรรมตามพระพุทธศาสนา ต่อมาก็ได้สร้างวัดขึ้นมาโดยมีชาวบ้านช่วยกันลงแรงและทุนทรัพย์ นั่นคือจุดเริ่มต้นของวัดแห่งนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ชาวบ้านที่เลื่อมใสและศรัทธาในพุทธศาสนาต่างก็ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างอุโบสถไม้หลังนี้ขึ้นมา ก็เพราะความเชื่อของชาวบ้านว่าวัดจะต้องมีอุโบสถประจำวัดไว้เพื่อทำพิธีกรรมทางศาสนาและไว้กราบไหว้ แต่ด้วยวัดนั้นก็เพิ่งเริ่มก่อตั้ง รวมถึงชาวบ้านนั้นก็ไม่มีปัจจัย แต่ก็ยังคงมีแรงศรัทธาอันแรงกล้าจึงร่วมมือร่วมใจกันสร้างอุโบสถเริ่มตั้งแต่ทำฐานของอุโบสถที่เป็นปูน เพราะในสมัยก่อนนั้นการก่อสร้างที่เป็นปูนนั้นถือว่ายังแพงมาก และการหาวัสดุอุปกรณ์นั้นยุ่งยากมากเพราะหมู่บ้านห่างไกลความเจริญ จึงทำได้แค่ฐานของอุโบสถเท่านั้นและพันธสีมารอบอุโบสถเท่านั้นที่เป็นปูน ส่วนตัวอุโบสถเป็นการสร้างแบบชาวบ้านมาช่วยกันลงแรงกัน แถมยังตัดไม้ในที่นาหรือที่ดินของตัวเอง เช่น ไม่ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ตะเตียน นำมาถวายวัด เพื่อมาสร้างอุโบสถจนสำเร็จ มาถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลาเกือบ 80 ปีแล้วที่บริเวณหน้าบันของอุโบสถนั้นมีช่างมาแกะสลักไม้เป็นพุทธประวัติความเป็นมาที่สวยงามตระการตา ด้านในของอุโบสถนั้นประดิษฐาน "พระทศพล" พระประธาน ซึ่งประวัติความเป็นมาก็ยังคงเป็นเรื่องของความสามัคคีและความตั้งใจจริงของชาวบ้าน โดยการนำทองเหลืองที่มีอยู่ในบ้านมาหล่อเป็นพระประทานที่สวยงามตระการตา




 
และต่อมาได้มีการบูรณะทั้งตัวอุโบสถและพระประทานไม่ให้เสื่อมโทรมตามกาลเวลา โดยปัจจุบัน "พระทศพล" พรประธาน ได้มีการหุ้มด้วยทองคำ ซึ่งญาติโยมนั้นก็มาช่วยกัน เพราะเกรงว่าองค์พระประธานจะไม่สวยงาม นับว่าเป็นอุโบสถไม้ทั้งหลังทึ่หายากมาก และในจังหวัดอุทัยธานดนี้เป็นวัดแรกที่มีการสร้างและมีประวัติความเป็นมาถึง 80 ปีมาแล้ว วัดแห่งนี้ยังเป็นศูนย์รวมของชาวบ้าน เวลาว่างจากการทำนาก็จะชักชวนลูกหลานมาช่วยกันดูแลทำความสะอาดอุโบสถแห่งนี้ รวมถึงได้เล่าต่อกันให้ลูกหลานฟังว่ามีบรรพบุรุษของเราเที่ป็นผู้ที่ร่วมสร้างอุโบสถแห่งนี้ขึ้นมา และได้ทำพิธีสำคัญทางพุทธศาสนามากมาย ถึงแม้ปัจจุบันยุคสมัยจะเปลี่ยนไป การก่อสร้างวัดวาอารามต่างๆ ก็เปลี่ยนตามไปด้วย แต่วัดแห่งนี้ยังคงอนุรักษ์อุโบสถแห่งนี้ไว้ด้วยความภาคภูมิใจ ยังคงคุณค่าทางพุทธศาสนา และนับว่าเป็นสมบัติอันล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ชาวจังหวัดอุทัยธานี






          หลังชมความวิจิตรสวยงามของอุโบสถไม้จนพอใจแล้ว ก็ได้เวลาที่คณะเรารับประทานอาหารกลางวันที่ "อุทัยริเวอร์เลค รีสอร์ท" ตำบลเกาะเทโพ อำเภอเมืองอุทัยธานี มื้อนี้คณะเราทานก๋วยเตี๋ยวไก่ร้านดังของจังหวัดอุทัยธานี
         หลังอิ่มหนำสำราญแล้ว คณะเราก็เดินทางไปยัอนวัย ย้อนรำลึกถึงความหลังสมัยที่เป็นนักเรียน ณ "โรงแรม อุไทย เฮอริเทจ" (Uthai Heritage) ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี เป็นที่พักสไตล์บูติก โฮเทลที่ได้รับการรีโนเวทจากโรงเรียนอุทัยวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2562 และเปิดเป็นโรงแรมในปี พ.ศ. 2564 แต่ยังคงคอนเซ็ปต์ของโรงเรียนไว้ได้อย่างครบถ้วน ทั้งเสาธงด้านหน้าโรงแรม ห้องเรียนที่พัฒนามาเป็นห้องพัก หรือห้องสมุดที่กลายเป็นห้องรับรอง รวมทั้งบรรยากาศต่าง ๆ ภายในโรงแรมที่มีการประดับตกแต่งไปด้วยโต๊ะเรียนที่เป็นไม้ กระดานดำ และในเวลา 08.00 น. และ 18.00 น. ยังมีการเคารพธงชาติอีกด้วย ใครที่มาพักที่นี่สามารถนำชุดนักเรียนมาใส่ย้อนวัยได้ รับรองได้เลยว่าจะต้องคิดถึงบรรยากาศเก่าๆ สมัยเป็นนักเรียนแน่นอน






           สนุกสนานกับการย้อนวัยไปเป็นนักเรียนวัยเก่าแก่ คณะเราก็เดินทางต่อไปที่ "ศูนย์การเรียนรู้ช้างปิง" หรือ "ช้างปีง" Animal Arts & Cafe ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมืองอุทัยธานี เป็นร้านกาแฟ และศูนย์สร้างแรงบันดาลใจงานศิลปะและสัวต์ป่า โดยที่นี่มีงานศิลปะ งานปั้นที่สวยงาม จากผลงานการสรางสรรค์ปั้นสัตว์ในรูปแบบใหม่จากผู้ปั้น big 7 หรือ 7 สัตว์ป่าผู้ยิ่งใหญ่ แห่งป่าห้วยขาแข้ง สัมผัสเรื่องราวมากมาย รวมทั้งการปั้นสัตว์ต่างๆ และเซลฟี่ถ่ายรูปตามมุมต่างๆ อย่างเพลิดเพลิน






           จิบกาแฟ ชา สัมผัสชีวิตสัตว์มากมาย ก็ถึงเวลาชิวๆ เดินเล่น ช้อปปิ้ง สัมผัสวิถีชีวิตของชาวอุทัยธานี ที่ตลาดริมน้ำสะแกกรังยามเย็น  และแล้วก็ได้เวลาที่คณะเราต้องเดินทางเข้าที่พัก "อุทัยริเวอร์เลค รีสอร์ท" รีสอร์ทที่สะอาด สวยงาม ท่ามกลางธรรมชาติที่เย้ายวน อิสระกับการพักผ่อนตามอัธยาศัย






พร้อมเปลี่ยนชุดคัลเลอร์ฟูล หลากหลายสีสัน เพื่อร่วมงานเลี้ยงต้อนรับจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานอุทัยธานี และ สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวอุทัยธานี โดยมี นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายสัมพันธ์ สุภาภักดี ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานอุทัยธานี ทพ.กฤตพล พรพิบูลย์ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวอุทัยธานี ให้เกียรติมาร่วมงาน และต้อนรับคณะเรา พร้อมพูดคุยอย่างเป็นกันเอง และมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวดชุดคัลเลอร์ฟูลอย่างสนุกสนานครื้นเครง






             รุ่งอรุณวันใหม่ พระอาทิตย์ทอแสง คณะของเราก็ต้องรีบตื่นแต่เช้า เพื่อนั่งรถรางเดินทางไปตลาดริมน้ำสะแกกรัง  ซื้อข้าวซื้อของตักบาตรพระ ด้วยความอิ่มเอิบบุญ






              หลังรับประทานอาหาเช้าเรียบร้อย คณะเราก็เดินทางโรงเรียนวัดอุโปสถาราม ร่วมเเพื่อร่วมเป็นเจ้าภาพกับ ททท.สำนักงานอุทัยธานี โดย นายวิทวัส เมฆสุต นายกสมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวไทย (สนท.) และสมาชิกแ ร่วมกันจัดซื้อโทรทัศน์จำนวน 4 เครื่อง สำหรับจัดการเรียนการสอนผ่านทางระบบ DLTV มอบให้แก่นักเรียน ซึ่งมีจำนวนนักเรียนมากกว่าคุณครูผู้สอน ซึ่งทำให้มีนักเรียนบางกลุ่ม ต้องเรียนผ่านทางสื่อโทรทัศน์ และมอบเงินจำนวน 10,000 บาท เพื่อไว้ซื้ออุปกรณ์ทาสีเครื่องเล่นในสนามเพื่อให้มีสีสันสวยงาม ส่วน ททท.สำนักงานอุทัยธานี โดยนายสัมพันธ์ สุภาภักดี ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานอุทัยธานี ได้มอบข้าวสาร อาหารแห้ง แก่เด็กนักเรียน  โดยมี ว่าที่ร้อยโทภิญโญ สุทธิพิทยศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดอุโปสถาราม เป็นผู้รับมอบ พร้อมด้วยคณาจารย์ ท่ามกลางเด็กๆ นักเรียน






       หลังร่วมกันทำความดีแล้ว คณะของเราก็ออกเดินทางไป "หุบป่าตาด" อำเภอลานสัก หนึ่งใน Unseen Thailand  ที่มีเอกลักษณ์ มีลักษณะเป็นป่าโบราณที่ซุกซ่อนตัวอยู่ภายในที่มีอายุเก่าแก่ประมาณ 245-286 ล้านปีแล้ว เขาหินปูนนี้เมื่อถูกน้ำฝนกัดเซาะเข้าก็ค่อยๆ กัดเซาะทะลุทะลวงไปตามรอยแตกของหิน จนเกิดเป็นโพรงถ้ำขนาดใหญ่อยู่ภายใน จนกระทั่งเพดานถ้ำถล่มลงมาตามกาลเวลา ก็ทำให้พืชพันธุ์ไม้ด้านบนร่วงลงมาด้วย จากนั้นจึงเกิดป่าขึ้นอยู่ภายในถ้ำนั่นเอง 





เมื่อไปถึงเจ้าหน้าที่ก็มาต้อนรับ พร้อมบรรยายเกี่ยวกับความเป็นมาของหุบป่าตาด พร้อมพาเดินเข้าชม เมื่อเดินบันได แล้วผ่านถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ไปอึกฟากหนึ่ง คณะเราเหมือนเดินหลงเข้าไปสู่ยุคดึกดำบรรพ์ เพราะข้างในจะเป็นป่าทึ่ถูกล้อมด้วยภูเขาหินปูนรอบด้าน มีเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ และมีสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิ ความชื้น อากาศ แสงแดด ฯลฯ เหมาะต่อการเติบโตของพืช จึงทำให้เกิดเป็นระบบนิเวศน์เฉพาะตัวที่คล้ายกับเมื่อยุคร้อยล้านปีก่อน โดยเฉพาะต้นตาด หรือต๋าว เป็นพืชตระกูลปาล์มที่ไม่สามารถปลูกได้ จะขึ้นเองตามธรรมชาติเท่านั้น ต้องใช้เวลาถึง 10 ปีถึงจะออกผลได้




       หุบป่าตาดแห่งนี้ถูกค้นพบโดย "พระครูสันติธรรมโกศล" หรือ "หลวงพ่อทองหยด" เจ้าอาวาสวัดถ้ำทอง เมื่อปี พ.ศ. 2522 ท่านได้ปีนเขาแล้วเข้าไปเห็นความแปลกและสวยงามของสถานที่นี้ ที่ด้านในเต็มไปด้วยต้นตาด และพันธุ์ไม้มากมาย ต่อมาจึงได้มีการเจาะภูเขาเป็นอุโมงค์ หรือถ้ำเข้าไปด้านใน เมื่อคณะเราเดินอยู่ภายใน เดินกันชิลชิล ชมวิว ศึกษาธรรมชาติอย่างสบายๆ ตลอดระยะทางก็จะมีป้ายให้อ่านศึกษาหาความรู้ของที่นี่ แต่ระหว่างทางถ้าโชคดี เราอาจได้พบเจอสัตว์ประจำถิ่นที่เป็นไฮไลท์มากที่สุดก็คือ "กิ้งกือมังกรสีชมพู" ที่จะพบได้แค่ช่วงปลายฝนต้นหนาวของทุกปีเท่านั้น (ประมาณเดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน) เป็นสัตว์หายากที่ถูกค้นพบที่ประเทศไทยในหุบป่าตาดแห่งนี้ และเป็นแห่งเดียวของประเทศไทยด้วย เมื่อโตเต็มที่จะมีลำตัวยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ต้องสังเกตดีๆ เพราะตัวเล็กมาก เมื่อเดืนเข้าไปกลางหุบป่าตาดก็มีโถงถ้ำขนาดใหญ่ที่มีแสงส่องลง ทำให้เห็นหินงอกหินย้อยที่สวยงาม จุดนี้จึงเป็นจุดไฮไลท์ยอดนิยม ที่นักท่องเที่ยวจะมาถ่ายรูป้ซลฟี่ลงโซเซียลกัน คณะเราก็เช่นกันไม่รอช้า รีบแอ็คชั่นถ่ายรูปกันอย่างฮาเฮ





      หลังจากหลุดจากป่าดึกดำบรรพ์ ก็ได้เวลาทานอาหาร มื้อนี้คณะเราฝากท้องกันที่หุบป่าตาดการ์เด้น (บุฟเฟต์) ก่อนที่จะเดินทางไป "วัดสุวรรณบรรพต" (เขารวม) ตำบลสุขฤทัย อำเภอห้วยคต เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2479 เดิมอยู่ที่ตำบลห้วยคต มีชื่อว่า "วัดกกงิ้ว" ต่อมาได้ย้ายมาสร้างขึ้นใหม่ในเขตที่ดิน 50 ไร่ เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ว่า "วัดเขาบรรพต" เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 และได้เปลี่ยนชื่อวัดอีกครั้งโดยใช้ชื่อว่า "วัดสุวรรณบรรพต" เพื่อชมอุโบสถสีขาวสวยงาม ที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติท้องทุ่งและป่าเขา ซึ่งสร้างตามแบบของอุโบสถวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก กรุงเทพมหานคร  ที่วัดนี้ยังมีรอยพระพุทธบาทจำลอง ประดิษฐานอยู่บนยอดเขา และมีถ้ำขนาดเล็กที่สามารถเข้าไปเที่ยวชมหินย้อยในถ้ำได้อีกด้วย  หลังชมอุโบสถและกราบสักการะพระประธานเพื่อขอพรอันประเสิรฐแล้ว คณะของเราก็เดินไปช้อปปิ้งสินค้าชุมชนที่ชาวบ้านนำมาจำหน่าย เป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน 




 

            หลังจับจ่ายใช้สอยแล้ว ก็ได้เวลาทึ่ทุกคนรอคอย นั่นคือ การรับประทานบุฟเฟต์ทุเรียนอิ่มไม่อั้น ณ สวนลุงสิทธิ์ ตำบลคอกควาย อำเภอบ้านไร่ โดยมีสมาชิกของสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวอุทัยธานี ซึ่งเป็นเจ้าของโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร ของฝาก มาบริการเสริฟทุเรียนให้คณะเรา คณะเราทานทุเรียนกันอย่างเปรมปรีด์ อิ่มอร่อย กินทุเรียนจนพอใจ สะใจ ก็ได้เวลาเดินทางกลับสู่ กรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพด้วยความสุข






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สทท. จัด ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 โดยมี รมว. ท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วย ผู้ว่าการ ททท. ร่วมปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "เดินหน้าท่องเที่ยวไทย"

สทท. จัด   ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567  โดยมี  รมว. ท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วย ผู้ว่าการ ททท. ร่วม ปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "เดินหน้าท่องเที่ยวไทย"        นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) จัด ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 แถลงนโยบาย  สทท. ประจำปี 2567  และแถลงข่าว "ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยและอัพเดตสถานการณ์ทองเที่ยว" ไตรมาส 2/2567  พร้อมฟังการ บรรยายปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "เดินหน้าท่องเที่ยวไทย" จาก นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยมี  นายจีรวัฒน์ ลีนะกนิษฐ์ ที่ปรึกษา รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  ดร.เพ็ญพิสุทธ์ จินตโสภณ เลขานุการ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการ ท่องเที่ยวและกีฬา  นายวิทวัส เมฆสุต  นายกสมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวไทย (สนท.)  นายวัสน์พล อรรถพรธนเสฐ นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย  คณะกรรมการบริหาร แล

"ฉลอม" ประธาน TFOPTA จัดประชุมคณะกรรมการ ปี 2567-2569 ครั้งที่ 1 และร่วมเปิดเส้นทางท่องเที่ยว “ช้อปของดี เที่ยววัดดัง บางคล้า ฉะเชิงเทรา”

"ฉลอม" ประธาน TFOPTA  จัด ประชุมคณะกรรมการ ปี 2567-2569 ครั้งที่ 1 และร่วม เปิดเส้นทางท่องเที่ยว “ช้อปของดี เที่ยววัดดัง บางคล้า ฉะเชิงเทรา”         นางฉลอม สงล่า ประธานสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (TFOPTA) จัดประชุมคณะกรรมการ สมาคมสมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย TFOPTA ปี 2567-2569 ครั้งที่ 1 เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานร่วมหาแนวทางการขับเคลื่อนในการท่องเที่ยวให้เกิดการสนับสนุน เชื่อมโยงกับหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน โดยมีนายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ให้เกียรติร่วมงาน  พร้อมด้วยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการท่องเที่ยวและ คณะกรรมการจากทุกภูมิภาคที่มาร่วมประชุมอย่างคับคั่ง  ณ ห้องประชุมบางปะกง  ณ ห้องบางปะกง ชั้น 2 โรงแรม ที วินเทจ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา  เมื่อ วันที่ 21 มิถุนายน 2567            สมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย  (TFOPTA)  จัดประชุมคณะกรรมการในครั้งนี้ ได่ร่วมกับภาคีเครือข่าย เปิดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวตามนโยบายรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน นายกร

นายกสมาคมท่องเที่ยวต่างๆ ร่วมแสดงความยินดีกับ "เจริญ" ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นนายก TTAA สมัยที่สอง

นายกสมาคมท่องเที่ยวต่างๆ ร่วมแสดงความยินดีกับ "เจริญ" ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นนายก TTAA สมัยที่สอง            สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว THAI TRAVEL AGENTS ASSOCIATION ( TTAA) นำโดยนายเจริญ วังอนานนท์ นายก TTAA  จัด ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 และเลือกตั้งคณะกรรมการ ประจำปี 2567-2569   โดย มีคณะกรรมการสมาคมฯ สมาชิก  และ ได้รับเกียรติจากนาย เอนก ศรีชีวะชาติ อดีตนายกสมาคม นานศุภฤกษ์ ศูรางกูร อดีตนายก ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิ ที่ทีเอเอ เพื่อเพื่อนมนุษย์ คุณนวลจันทร์ เพียรธรรม พร้อมด้วยบุคคลในวงการท่องเที่ยว เข้าร่วมประชุม ณ   ห้องประชุม 208-209 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อ วันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2567        สำหรับการ ประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2566  ในครั้งนี้ เริ่มจาก วาระการประชุมใหญ่ สามัญ ประจำปี 2566  ในวาระต่างๆ   โดยมี นายเจริญ วังอนานนท์ นายก สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว  ( TTAA)  เป็นประธาน เปิดการประชุม  พร้อมด้วยคณะกรรรมการสมาคมฯ         โดยการ ประชุมใหญ่ สามัญ ประจำปี 2566  ในครั้งนึ้มีวาระสาระสำคัญ ดังนี้คือ วาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทรา