ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ททท. เสนอแผนตลาดฯ ปี 68 จุดพลัง Amazing Thailand Grand Tourism Year ด้วย “เสน่ห์ไทย-เมืองน่าเที่ยว”

ททท. เสนอแผนตลาดฯ ปี 68  จุดพลัง Amazing Thailand Grand Tourism Year ด้วย “เสน่ห์ไทย-เมืองน่าเที่ยว”

มุ่งพิชิตเป้าหมายรายได้เพิ่มร้อยละ 7.5 จากปี 67




     นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นำเสนอทิศทางการส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยว ปี 2568 ย้ำเตรียมพาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยสู่จุดสูงสุดอีกครั้ง เดินหน้าพลิกฟื้นศักยภาพท่องเที่ยวไทยทั้งระบบด้วยการกระตุ้น Demand ยกระดับ Supply และมุ่งสู่ความยั่งยืน ภายใต้ความร่วมมือของพันธมิตรทุกภาคส่วน ชู “เสน่ห์ไทย” และ “เมืองน่าเที่ยว” เป็นจุดขายสำคัญ ดึงดูดตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้ง ตั้งเป้าหมายรายได้เติบโตร้อยละ 7.5 จากปี 2567 โอกาสนี้ได้รับเกียรติจากนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย นายจีรวัฒน์ ลีนะกนิษฐ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดร.เพ็ญพิสุทธ์ จินตโสภณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายอารัญ บุญชัย ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คณะกรรมการ ททท. นายจาตุรนต์ ภักดีวานิช อธิบดีกรมการท่องเที่ยว นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. รวมถึงสมาคมท่องเที่ยวต่างๆ ภาคเอกชนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อาทิ นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ว่าที่ ร.ต.เอนก นุรักษ์ และนางสมทรง สัจจาภิมุข รองประธาน สทท. นายอิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก อดีตประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) นางฉลอม สงล่า ประธานสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (TFOPTA) นายกันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์ นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.) นายสุเทพ อารมณ์รักษ์ รองนายก สธทท. นายเทียนประสิทธิ์ ไชยภัทรานันท์ นายกสมาคมโรงแรมไทย (THA) ตัวแทนสมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวไทย (สนท.) ตัวแทนสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) ตัวแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และสื่อมวลชน เข้าร่วมงานฯ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่15 กรกฎาคม 2567




       นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้กำหนดให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็น 1 ใน 8 เสาหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยภายใต้นโยบาย IGNITE THAILAND’S TOURISM ซึ่งมุ่งหวังให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภูมิภาค (Tourism Hub) ให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้น เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวต้องให้ความสำคัญกับ
1. การปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทยไปสู่การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและยั่งยืน (High Value and Sustainability)
2. ให้ความสำคัญกับกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ ใช้จ่ายสูง มีระยะพำนักนาน และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
และ 3. การยกระดับห่วงโซ่อุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Shape Supply) ให้มีความพร้อมรองรับนักท่องเที่ยว และผลักดันเกณฑ์มาตรฐานความยั่งยืน ตลอดจนการส่งเสริมเมืองน่าเที่ยว เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมและทั่วถึง จึงจะนำไปสู่ปลายทางความสำเร็จของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยที่เติบโตอย่างยั่งยืนและสมดุล




       ด้าน นางสาวฐาปนีย์  เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า ปี 2568 นับเป็นปีแห่งความท้าทายของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ที่จะก้าวไปสู่ Amazing Thailand Grand Tourism Year อย่างยิ่งใหญ่ สอดรับนโยบาย IGNITE Thailand’s Tourism ของรัฐบาล โดยเรายังคงสานต่อหัวใจสำคัญอย่าง การกระตุ้นความต้องการเดินทางท่องเที่ยว (Drive Demand), การยกระดับห่วงโซ่อุปทาน (Shape Supply) ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สร้างมาตรฐาน พัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของนักท่องเที่ยว ภายใต้การเสริมกำลังซึ่งกันและกันของทุกภาคส่วนแบบ 360 องศา (Partnership 360o) และเดินหน้าสู่ความยั่งยืน เพื่อบรรลุเป้าหมายเชิงเศรษฐกิจ ผลักดันการเติบโตรายได้อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าร้อยละ 7.5 สูงกว่าการเติบโตของ GDP ประเทศไทยปี 2568 ถึง 1.7 เท่า พาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยกลับไปอยู่ ณ จุดสูงสุดอีกครั้ง โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่า 39 ล้านคน และดึงไทยเที่ยวไทยมากกว่า 205 ล้านคน-ครั้ง สะท้อนศักยภาพของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่จะเป็นเรือธงอันทรงพลังผลักดันให้เศรษฐกิจไทย สังคมไทย และคนไทยเติบโตไปด้วยกันอย่างมีความสุขและยั่งยืน นำประเทศไทยสู่จุดหมายปลายทางทางการท่องเที่ยวระดับโลก




        ปี 2568 “เสน่ห์ไทย” และ “เมืองน่าเที่ยว” จะกลายเป็น Highlight Product อันเป็นวัตถุดิบชั้นดีที่ ททท. จะนำมารังสรรค์เป็นเมนูประสบการณ์ทรงคุณค่าที่กระตุ้นความต้องการเดินทางท่องเที่ยว ขยายฐานตลาด กระตุ้นความถี่และการกระจายตัวสู่จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทยมากขึ้น ด้าน “เสน่ห์ไทย” จะนำเสนอเชื่อมโยงกับแนวคิด 5 Must Do in Thailand ของรัฐบาล ประกอบด้วย Must Taste อาหารไทยบอกเล่าที่มาความอร่อยและวิถีการกินของคนแต่ละภาค Must Try มวยไทยและเรื่องราวศิลปะการต่อสู้ที่เป็นที่นิยมของคนทั่วโลก Must Buy แฟชั่น ผ้าไทย และงานฝีมือ งานคราฟต์ที่เล่าเรื่องราวชีวิต การสร้างสรรค์ และแรงบันดาลใจของคนไทย Must Seek สถานที่ท่องเที่ยวเที่ยวใหม่ๆ หรือมุมมองและเรื่องราวใหม่ๆและ Must See เทศกาลงานประเพณี ที่สะท้อนวิถีชีวิต ความเชื่อของคนแต่ละท้องถิ่นทั่วไทย ในส่วน “เมืองน่าเที่ยว” จะเพิ่มพลังให้เป็นเมืองที่น่าไปเที่ยวไปเยือนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถสร้างการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น โดยดึงกลยุทธ์ City Marketing พัฒนาเมืองต่างๆ ให้เติบโตเข้าใกล้ความเป็นเมืองหลักด้านการท่องเที่ยว ค้นหาจุดขาย พลิกมุมมอง บอกเล่าเรื่องราวความเป็นไทยของแต่ละพื้นที่ หมุนเวียนกันไปจากเมืองสู่เมือง จากภาคสู่ภาค เพื่อทำให้ประเทศไทยเป็น High Season ตลอดทั้งปี




        สำหรับ ตลาดในประเทศ “ไทยเที่ยวไทย” รับโจทย์ท้าทายที่การมุ่งให้เกิดการเดินทางทันที เพิ่มความถี่ กระตุ้นการใช้จ่าย รวมทั้งดึงกลุ่มศักยภาพ (ไทยเที่ยวนอก) ให้กลับมาท่องเที่ยวในประเทศมากยิ่งขึ้น พร้อมเสิร์ฟความสุขไปกับ แคมเปญ “สุขทันที ที่เที่ยวไทย” โดยชวนคนไทยออกไปสุขทันทีที่ได้ไปใช้เวลาท่องเที่ยวกับคนที่รัก สิ่งที่รัก พร้อมใช้ Big Events และ Local Events ทั้งประเพณี ดนตรีและกีฬา และนำเสนอกิจกรรมท่องเที่ยวที่ตรงใจ กระตุ้นการใช้จ่ายของ Sub-culture Segment พร้อมกับการนำเสนออัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ ประกอบด้วย ภาคเหนือ ชวนสัมผัส Season of the North เสน่ห์วันวานเมืองเหนือที่ผสานความสร้างสรรค์และความยั่งยืนอย่างลงตัว ผ่านอาหาร งานคราฟท์ และกิจกรรมเพื่อสุขภาพ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดประสบการณ์อาหารถิ่นผ่าน Gastronomy Tourism และม่วนคักกับความสนุกสนานของเทศกาลประเพณีที่บ่งบอกความเป็นมาและเป็นไปของชีวิตผู้คน จากนั้นค่อยเดินทางไปสัมผัสเสน่ห์ของ ภาคกลาง พื้นที่ลุ่มแม่น้ำที่มาพร้อมความสุขอันเรียบง่ายผ่านเรื่องราวมรดกศิลปวัฒนธรรม ศรัทธาและอาหาร แล้วไปสนุกกับ ภาคตะวันออก สีสันตะวันออก Colorful Burapha ด้วยกีฬากิจกรรมกลางแจ้ง อิ่มอร่อยกับพืชผัก ผลไม้และอาหารทะเลสดใหม่ สุดท้าย ภาคใต้ GO SOUTH ไปใช้เวลาอย่างมีคุณภาพ ด้วยการเดินทางแบบ Wellcation และ Carbon Neutral Tourism พร้อมดื่มด่ำธรรมชาติสองฝั่งทะเล




         สำหรับ “ตลาดต่างประเทศ” มุ่งผลักดันการเติบโตของตลาดศักยภาพ 23 ตลาดทั่วโลกที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยและสร้างรายได้มากกว่า 80% ของจำนวนและรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดในปี 2567 รวมถึงเพิ่มจำนวนตลาด 7 digits ให้ได้ถึง 13 ตลาดในปี 2568 พร้อมสานต่อผลักดันการเพิ่ม Seat Capacity เข้าไทย ทั้งการเพิ่มเที่ยวบินในเส้นทางบินปัจจุบัน เพิ่มเส้นทางบินใหม่ และขยายระยะเวลาการบิน ทั้ง Regular Flight และ Charter Flight ส่งเสริม “เมืองน่าเที่ยว” ที่มีศักยภาพพร้อมรองรับนักท่องเที่ยว และ “เสน่ห์ไทย” ที่สอดคล้องกับความต้องการและรสนิยมของนักท่องเที่ยวในตลาดต่างประเทศ และต่อยอดกระแสความนิยมซีรีย์ ภาพยนตร์และ Music VDO ที่ถ่ายทำในประเทศไทยในกลุ่มแฟนดอม (Fandom) ให้เดินทางมาเที่ยวอย่างต่อเนื่องในปี 2568 เริ่มที่ ตลาดระยะใกล้ เตรียมพิชิตเส้นชัยด้วย 2 แนวทางหลัก ได้แก่ 1) เจาะตลาดกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่อายุน้อยลงอย่างกลุ่ม New Gen ด้วยการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของประเทศไทยในใจนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในตลาดจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน และฮ่องกง และ 2) กระตุ้นความถี่และการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว Sub-segment ศักยภาพ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่ม Millennials กลุ่มครอบครัว และกลุ่มผู้มีรายได้สูง อาทิ กลุ่ม Shopping mania ในตลาดอาเซียน และ กลุ่มขับรถเที่ยวและกลุ่มท่องเที่ยวทางรถไฟจากมาเลเซีย สิงคโปร์และจีน โดยเฉพาะอย่างตลาดจีน ในปี 2568 ททท. จะเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-จีนครบรอบ 50 ปีอย่างยิ่งใหญ่ด้วยกิจกรรมทั้งในระดับรัฐบาลกับรัฐบาล ธุรกิจกับธุรกิจ และระหว่างประชาชนทั้ง 2 ประเทศ อาทิ Nihao month เชิญอินฟลูเอนเซอร์และเซเลบริตี้ชื่อดังระดับโลกเดินทางมาประเทศไทย พร้อมทั้งจัด Joint Promotion ร่วมกับพันธมิตร กิจกรรม Chinese Passport Special Deals กระตุ้นการเดินทาง เพิ่มค่าใช้จ่ายและวันพักของนักท่องเที่ยวจีนจากพื้นที่เมืองหลักและเมืองรองของจีนเข้าไทย




       สำหรับ ตลาดระยะไกล : ตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา ให้น้ำหนักไปที่ การขยายตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพและการฟื้นความจุและความถี่ของเที่ยวบิน โดยมุ่งปักธงพื้นที่ตลาดใหม่ สร้างการรับรู้สินค้าและบริการท่องเที่ยว อาทิ เจาะกลุ่มตอนกลางของสหรัฐอเมริกา ขยายฐานตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ Quality Leisure โดยเฉพาะกลุ่ม First Visit ในตลาด UK และ Ireland ยุโรปตะวันตกและบอลข่าน ฝรั่งเศส โมนาโค และเบเนลักซ์ เจาะกลุ่ม New Gen ในตลาดอเมริกาและแคนาดาที่ใส่ใจการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ทั้งกลุ่ม Gen-Z ที่มองหาประสบการณ์ที่ให้ความหมายกับชีวิต กลุ่ม Millennials ที่ต้องการเจาะลึกวัฒนธรรมท้องถิ่นและ Active Outdoor Experience และกลุ่ม Asian American ตลาดที่เติบโตรวดเร็วและมีศักยภาพในการใช้จ่ายสูง รวมไปถึง เจาะนักท่องเที่ยวกลุ่มไลฟ์สไตล์ที่ใช้จ่ายสูง เช่น กลุ่ม DINKs (Double Income, No Kids) และ LGBTQIAN ตลอดจน ตลาด Luxury ในกลุ่ม 6 ประเทศอาหรับ ทั้งนี้ ททท. จะใช้ แคมเปญ Amazing Thailand : Your Stories Never End สำหรับตลาดต่างประเทศ เพื่อชวนนักท่องเที่ยวมาร่วมสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำในประเทศไทย ค้นพบมุมมองใหม่ ให้เป็นเรื่องราวแห่งความประทับใจ มีคุณค่าและความหมาย เกิดเป็นการบอกต่อเรื่องราวและเดินทางซ้ำไม่สิ้นสุด ให้ความรู้สึกถึงการเดินทางมาประเทศไทยเป็นครั้งแรกเสมอ





       นอกจากนี้ การมุ่งสู่ “ความยั่งยืน” ก็ยังคงเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จและภูมิคุ้มกันระยะยาวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดย ททท. จะเดินหน้าขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาแบรนด์ Amazing Thailand ให้เป็นแบรนด์ท่องเที่ยวไทยที่มุ่งสู่ความยั่งยืนบนรากฐานของเสน่ห์ไทยอันเป็นเอกลักษณ์ พร้อมไปกับการพัฒนา Supply Chain เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการการตลาดอย่างยั่งยืน ผ่านโครงการสำคัญ ได้แก่ โครงการ STGs STAR โครงการ CF Hotels และโครงการรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย หรือ Thailand Tourism Awards ที่จะผลักดันผู้ประกอบการเข้าสู่กระบวนการขายอย่างจริงจัง ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ และก้าวสู่เวทีความยั่งยืนระดับโลกที่ถูกรับรองด้วยรางวัลและมาตรฐานสากลต่อไป




       ทั้งนี้ ททท. เชื่อมั่นว่า ปี 2568 จะเป็น Amazing Thailand Grand Tourism Year ก้าวต่อไปของการท่องเที่ยวไทยที่ยิ่งใหญ่ แข็งแกร่ง ก้าวข้ามอุปสรรค ความท้าทาย และทรงพลังยิ่งกว่าเดิม จึงอยากจะเชิญชวนนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก มาร่วมสัมผัสความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย Grand Invitation ความภาคภูมิใจในเสน่ห์ไทยที่เกิดจากการเปิดรับความหลากหลายและเปิดกว้างพร้อมที่จะแชร์เรื่องราวและคุณค่ากับผู้มาเยือน ให้มาร่วมสัมผัสการต้อนรับด้วยมิตรไมตรีจากความร่วมมือร่วมใจของพันธมิตรและคนไทย Grand Collaboration ที่อยากจะส่งมอบประสบการณ์ท่องเที่ยวที่พิเศษและทรงคุณค่า Grand Privilege มาร่วมแบ่งปันความสุขแบบไทยๆ ด้วยงานเฉลิมฉลองและเทศกาลยิ่งใหญ่ Grand Festivity มาสร้าง Moment ที่มีความหมาย Moment ที่ดีต่อใจและดีต่อโลก Grand Moment เพื่อเก็บความประทับใจไว้เป็นเรื่องเล่าต่อไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สทท. จัด ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 โดยมี รมว. ท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วย ผู้ว่าการ ททท. ร่วมปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "เดินหน้าท่องเที่ยวไทย"

สทท. จัด   ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567  โดยมี  รมว. ท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วย ผู้ว่าการ ททท. ร่วม ปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "เดินหน้าท่องเที่ยวไทย"        นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) จัด ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 แถลงนโยบาย  สทท. ประจำปี 2567  และแถลงข่าว "ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยและอัพเดตสถานการณ์ทองเที่ยว" ไตรมาส 2/2567  พร้อมฟังการ บรรยายปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "เดินหน้าท่องเที่ยวไทย" จาก นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยมี  นายจีรวัฒน์ ลีนะกนิษฐ์ ที่ปรึกษา รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  ดร.เพ็ญพิสุทธ์ จินตโสภณ เลขานุการ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการ ท่องเที่ยวและกีฬา  นายวิทวัส เมฆสุต  นายกสมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวไทย (สนท.)  นายวัสน์พล อรรถพรธนเสฐ นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย  คณะกรรมการบริหาร แล

"ฉลอม" ประธาน TFOPTA จัดประชุมคณะกรรมการ ปี 2567-2569 ครั้งที่ 1 และร่วมเปิดเส้นทางท่องเที่ยว “ช้อปของดี เที่ยววัดดัง บางคล้า ฉะเชิงเทรา”

"ฉลอม" ประธาน TFOPTA  จัด ประชุมคณะกรรมการ ปี 2567-2569 ครั้งที่ 1 และร่วม เปิดเส้นทางท่องเที่ยว “ช้อปของดี เที่ยววัดดัง บางคล้า ฉะเชิงเทรา”         นางฉลอม สงล่า ประธานสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย (TFOPTA) จัดประชุมคณะกรรมการ สมาคมสมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย TFOPTA ปี 2567-2569 ครั้งที่ 1 เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานร่วมหาแนวทางการขับเคลื่อนในการท่องเที่ยวให้เกิดการสนับสนุน เชื่อมโยงกับหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน โดยมีนายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ให้เกียรติร่วมงาน  พร้อมด้วยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการท่องเที่ยวและ คณะกรรมการจากทุกภูมิภาคที่มาร่วมประชุมอย่างคับคั่ง  ณ ห้องประชุมบางปะกง  ณ ห้องบางปะกง ชั้น 2 โรงแรม ที วินเทจ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา  เมื่อ วันที่ 21 มิถุนายน 2567            สมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย  (TFOPTA)  จัดประชุมคณะกรรมการในครั้งนี้ ได่ร่วมกับภาคีเครือข่าย เปิดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวตามนโยบายรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน นายกร

นายกสมาคมท่องเที่ยวต่างๆ ร่วมแสดงความยินดีกับ "เจริญ" ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นนายก TTAA สมัยที่สอง

นายกสมาคมท่องเที่ยวต่างๆ ร่วมแสดงความยินดีกับ "เจริญ" ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นนายก TTAA สมัยที่สอง            สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว THAI TRAVEL AGENTS ASSOCIATION ( TTAA) นำโดยนายเจริญ วังอนานนท์ นายก TTAA  จัด ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 และเลือกตั้งคณะกรรมการ ประจำปี 2567-2569   โดย มีคณะกรรมการสมาคมฯ สมาชิก  และ ได้รับเกียรติจากนาย เอนก ศรีชีวะชาติ อดีตนายกสมาคม นานศุภฤกษ์ ศูรางกูร อดีตนายก ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิ ที่ทีเอเอ เพื่อเพื่อนมนุษย์ คุณนวลจันทร์ เพียรธรรม พร้อมด้วยบุคคลในวงการท่องเที่ยว เข้าร่วมประชุม ณ   ห้องประชุม 208-209 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อ วันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2567        สำหรับการ ประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2566  ในครั้งนี้ เริ่มจาก วาระการประชุมใหญ่ สามัญ ประจำปี 2566  ในวาระต่างๆ   โดยมี นายเจริญ วังอนานนท์ นายก สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว  ( TTAA)  เป็นประธาน เปิดการประชุม  พร้อมด้วยคณะกรรรมการสมาคมฯ         โดยการ ประชุมใหญ่ สามัญ ประจำปี 2566  ในครั้งนึ้มีวาระสาระสำคัญ ดังนี้คือ วาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทรา